สุขจริงๆ อยู่ที่ความพอใจ
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
คิดต่าง สร้างปัญญา

ทำไมต้องคิดต่าง สร้างปัญญา
การศึกษาในยุค IT ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในทางการศึกษา ทำให้เราสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น การนำแนวคิดเกี่ยวกับ "นวัตกรรมทางการศึกษา" (Innovation Education) เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา ให้ก้าวหน้าและตอบสนองความต้องการของสังคม โดยที่นวัตกรรมที่นำมาใช้นั้น จำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับทัศนคติที่ดีของนักเรียน และนักเรียนเป็นคนเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองมีความชอบ และปราศจากการบังคับของคนรอบข้าง
การศึกษาแบบดั่งเดิมนั้นเน้นแบบท่องจำ
แล้วไปสอบ คือการสอนแบบตั้งรับ (Traditional Passive) พบว่านักเรียนได้รับความรู้อยู่ประมาณที่
30 เปอร์เซนต์ ซึ่งเหมาะสมกับการเรียนแบบสมัยก่อน
แต่ในปัจจุบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงมีการพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่
คือการสอนแบบเชิงรุก (Active)ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนออกมาได้ถึง
90 เปอร์เซนต์
ในบางครั้งนักเรียนอยากเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบและตั้งใจจะสร้างสิ่งนั้นให้ดี แต่ก็ติดที่ผู้ปกครองหรือคุณครู ที่คอยให้คำปรึกษาในมุมมองของตนเอง โดยขาดการสอบถามความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนที่ต้องการเรียน
ถึงเวลาหรือยังที่เราท่านทั้งหลายที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาของ เยาวชนที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของตนเอง
มองข้ามขีดกำจัดเดิม มองและยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
จากสภาวะการณ์การศึกษาของประไทยในอาเซียนปรากฏชัดว่า เรานั้นอยู่อันดับที่ 8 ของอาเซียนเกือบรั้งท้าย ทำให้นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ทัศนเกี่ยวกับการศึกษาไว้อย่างกว้างขวางและหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาหลายรูปแบบ

การจะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต้องอาศัย กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน น้ันคือรูปแบบการสอนแบบเชิงรุก โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity Based Learning) (ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์) ที่มุ่งเน้น คิดให้แตกต่าง และให้ดีกว่าเดิม สร้างปัญญาให้กับนักเรียน จากการสอนของคุณครูโดยแบบนี้จะการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้เกิดความอยากรู้อยากเห็น การคิดสร้างสรรค์นี้สามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้ทุกระดับการศึกษา
แม้แต่ในมหาวิทยาลัย นิสิตก็สามารถฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้
แล้วในเด็กในวัยอื่นละ???
แล้วในเด็กในวัยอื่นละ???
ผลของนักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนให้คิดสร้างสรรค์
นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่นักเรียนได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
ถ้าหากผู้ปกครองของนักเรียนได้รับรู้ถึงความต้องการของนักเรียนแล้ว และย่อมเป็นที่แน่ชัดว่าผู้ปกครองควรที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนการเรียนรู้แบบ การคิดแบบสร้างสรรค์ ชมตัวอย่างกันดูนะครับ
อีกหนึ่งความคิดเห็นของผู้ปกครอง
http://www.youtube.com/watch?v=HBekIIxA4Kg
ผลการทดสอบ O-net , PISSA มีความสอดคล้องกัน คือ ผลจาการทดสอบทางด้านการศึกษาของเรานั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เราและท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ต้องเร่งช่วยกันผลักดัน นวัตกรรมทางการศึกษาที่ก่อประโยชน์แก่เยาวชนของชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยของเราอุดมไปด้วยปัญญา คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาชาติสู่ความยั่งยืนต่อไป
ผลการทดสอบ O-net , PISSA มีความสอดคล้องกัน คือ ผลจาการทดสอบทางด้านการศึกษาของเรานั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เราและท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ต้องเร่งช่วยกันผลักดัน นวัตกรรมทางการศึกษาที่ก่อประโยชน์แก่เยาวชนของชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยของเราอุดมไปด้วยปัญญา คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาชาติสู่ความยั่งยืนต่อไป
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อิทธิพลของสื่อต่อการสื่อสารทางการศึกษา
ความเจริญทางทางด้านเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา สื่อ คือ สิ่งที่มีผลต่อ "การพัฒนาความสามารถทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม" เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเป็นบุคคลที่สามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไปพร้อมกับการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ควา่มหมายของสื่อ
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์
ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana
University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel
of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ
คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich
และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน
มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง
อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ
สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา
และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse
University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of
messages, from some transmitting source (which may be a human being or
an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case
is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์
หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร
(ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ
ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร
เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ
ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร (ที่มา http://uto.moph.go.th/hcc/media1.html)
ความหมายของการสื่อสาร คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
กล่าวโดยสรุปแล้ว สื่อและการสื่อสารนี้ คือ ตัวกลางมีทีผลต่อความรู้สึก นึกคิด พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกผ่านกระบวนการ รับรู้สิ่งที่ต่างๆเข้ามาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอก
ในทศวรรษที่ 21 นี้ ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบสื่อต่างๆ มากมาย ยากที่จะควบคุมสิ่งหนึ่งที่ครูทำได้ก็คือ การได้ให้ผู้เรียนบริโภคสื่ออย่างมีภูมิคุ้มกัน หากผู้เรียนบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสมและไม่มีภูมิคุ้มกันแล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อระบบการศึกษา สังคม วัฒนธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้เรียนบริโภครสื่อ ประเภทสื่อที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม ก็จะทำให้ผู้เรียนมีแนวโน้มการประพฤติปฏิบัติในสิ่งงที่ดีงาม แต่ถ้าผู้เรียนได้บริโภคสื่อที่มีแต่ความรุนแรงทางด้าน พฤติกรรมอารมณ์แบบก้าวร้าว เช่น เกมส์ที่มีแต่ฆ่ากันตาย หรือเกมส์ที่มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านอารมณ์รักใคร่ ผู้เรียนก็มีแนวโน้มจะปฏิบัิติตาม สื่อที่บริโภค
การศีึกษาในทศวรรษที่ 21
จากคลิปนี้พบว่า การศึกษาในอนาคตผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักในสื่อการเรียนรู้ให้มาก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกัน
ฉะนั้นเราในฐานะผู้ให้คำแนะนำผู้เรียน ก็ควรมีแนวทางการส่งเสริมใ้ห้ผู้เรียนได้บริโภคสื่อที่ดี และมีภูมิคุ้มกัน เช่น สื่อทางการศึกษา
สื่อที่ดีมีคุณภาพหลายหลาย สามารถหาได้จากโลกของอินเตอร์เน็ท เพื่อส่งเสริมผู้เรียนและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนไม่ตกเป็นทาสของสื่อที่เราไม่พึงประสงค์ เพื่อการพัฒนาเยาวชนของชาติเราต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ความคิดเห็นเรื่องกระบวนทัศน์ทางการศึกษาควรจะเปลี่ยนไปอย่างไร จากหนังสือ “สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก 2556”
ความคิดเห็นเรื่องกระบวนทัศน์ทางการศึกษาควรจะเปลี่ยนไปอย่างไร
จากหนังสือ “สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก
2556”
โดย นายศรสกล กัลยา
นิสิตปริญญาโท สาขาวิจัยและสถิติทางการศึกษา
สถานการณ์การศึกษาของโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้โลกที่เราเคยคิดว่ากว้างแต่ปัจจุบันแคบลงแค่ลัดนิ้วมือเดียว
ความรู้ทุกอย่างในโลกนี้หาได้จากห้องสมุดออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางไปที่ห้องสมุดก็สามารถอ่านหนังสือหาความรู้จากห้องสมุดออนไลน์
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ททำให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันสมัย
ทันเหตุการณ์โลกปัจจุบัน
ในระบบการศึกษาของประเทศที่เจริญแล้วได้มีการจัดระบบการศึกษาตั้งแต่
ขั้นก่อนประถมศึกษาจนถึงภาคบังคับ ตามบริบทของประเทศของตน ส่วนการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนก็ได้มีการจัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ
และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน ที่จัดระบบการศึกษาที่มีรูปแบบเหมือนกันกับประเทศ
ที่เจริญทางด้านการศึกษาได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐ และเกาหลี
หากจะกล่าวถึงการศึกษาพอจะให้ความหมายว่า
การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 4 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ) จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าการศึกษาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความเจริญงอกงามและส่งผลต่อระบบการศึกษาชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากข้อมูลทางด้านสถิติของหนังสือ
“สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก 2556” ทำให้เราเห็นสภาพปัญหาทางด้านการศึกษาที่กำลังถดถอย
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตระหนักถึงผลที่เกิด เร่งสร้างปรากฏการณ์ทางการศึกษาโดยการเปลี่ยนทัศนคติใหม่ต่อการเรียนรู้
จากครูสู่นักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ให้นักเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้ สื่อต่างๆ ภาพเคลื่อนไหว การทำโครงงาน
การเรียนโดยวิธี Active learning การเรียนแบบสืบค้น ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้เลย
หากผู้นำทางการศึกษาไม่ตระหนักและเล็งเห็นผลที่จะตามมาในอนาคตอันใกล้
โดยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตัวเองใหม่ ให้มีความใหม่และเก่าปะปนกันไปอย่างสอดคล้องประสานกลมกลืนกันไป
เหมือนเกลียวคลื่นลูกใหม่และลูกเก่าที่คอยเกื้อหนุนประสานกัน ร่วมกันคนละไม้คนละมือ
การศึกษาและอนาคตของชาติ ย่อมเจริญขึ้นแน่นอน ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ยาทิสัง วะปะเต
พีชัง ตาทิสัง ละภะเต ผะลัง กัลยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี
จะ ปาปะกัง” บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว (พุทฺธพจน์ สํ.ส ๑๕/๓๓๓.)
ถ้าการปลูกพืชคือกระบวนการเรียนรู้ใหม่หลากหลายแล้ว
ผลคือผู้ที่ได้รับความรู้จากเราได้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจ ไปพร้อมๆกัน ทำให้ประเทศของเราอุดมไปด้วยสังคมแห่งปัญญา มีแรงงานก็เป็นแรงงานคุณภาพมีการศึกษา วัยกลางคนก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ วัยชราก็เป็นวัยของผู้ทรงภูมิปัญญาแห่งนักปราชญ์ที่มากไปด้วยประสบการณ์ พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมทางสังคม จากรุ่นสู่รุ่น ที่ดีงามต่อไป
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ในยามที่หยดน้ำค้างกำลังจะสลายไปในเปลวแดด ของเดือนแห่งการเข้าพรรษา ก่อนหวยออกสองวัน อีกไม่กี่นาทีจะมีอีกหนึ่งชีวิตได้เริ่มต้นใหม่ และแล้วเสียงแห่งการกำเนิดก็เกิดขึ้นพร้อมกับฝามือเบาที่สะกิดบนแผ่นหลัง หลังจากที่อยู่ในภาวะจำศีลตลอดเก้าเดือน คอยย้ำเตือนนามว่า ศรสกล กัลยา แปลว่า ผู้ไปได้ไกล (ถ้ามีค่ารถ)
วันวานผันผ่านมาพร้อมกับอายุได้เกณฑ์เข้าประถม ชีวิตช่วงนี้มันส์อย่าบอกใครเชียวเพราะมีแต่กินกับเล่นแถมมีรายได้จากงานพิเศษตอนเย็น ลุงแก่เรียกใช้งานเรียงขนมขึ้นรถตู้ ได้เงินอย่างงามวันละ 5 บาท โอ้วพระเจ้ายอด มันจอร์จมาก มันยอดเยี่ยมมาก มันมีความพอใจ อย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อนเลย มีค่าขนมอีกแล้ว ว้าว วันนี้ไม่ต้องขอเงินแม่อีกแล้ว

เรียนและงานก็ยังคงวนเวียนกับข้าพเจ้าอยู่เสมอ ใช้เวลาเรียนปริญญาตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จบปี 2543 ครบ 7 ปี บริบูรณ์ คุ้มค่าจริงๆ จากสถาบันราชภัฏจันเกษม และที่ขาดไม่ได้เลย คนที่เป็นกำลังใจให้กับข้าพเจ้ามาตลอด คือ มารดา และ บิดา ของข้าพเจ้า ขอขอบพระคุณท่านมาก จนหาที่สุดมิได้แล้ว
ในส่วนของการเรียนปริญญาโทไม่เคยอยู่ในความคิดว่าจะเรียนเลยยยยย แต่ชีวิตก็หักเหให้เริ่มที่ แรก ม.นเรศวร ที่สอง ม.ราชภัฏนครสวรรค์ และล่าสุด คือ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ตั้งใจแล้วว่าจะจบ 2 ปีให้ได้ แต่ละที่ที่ผ่าน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายที่เราสามารถเก็บเกี่ยวสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนความสุขและพอใจที่ได้สัมผัสในการเรียน ปริญญาโท ยังอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการเรียนคือ

จากคำบาลีที่ว่า "ฉันทะ มูละกา" หมายถึง ความพอใจเป็นรากฐานของชีวิต ถ้าเราปราศจาก ฉันทะ การเป็นอยู่ของเราก็ยากที่จะหาสุขในชีวิตได้
ศรสกล กัลยา
นิสิตปริญญาโท เอกวิจัยและสถิติทางการศึกษา
รหัส 556199130069
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)