วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

คิดต่าง สร้างปัญญา

   

ทำไมต้องคิดต่าง สร้างปัญญา

          การศึกษาในยุค IT ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในทางการศึกษา ทำให้เราสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น การนำแนวคิดเกี่ยวกับ "นวัตกรรมทางการศึกษา" (Innovation Education) เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา ให้ก้าวหน้าและตอบสนองความต้องการของสังคม โดยที่นวัตกรรมที่นำมาใช้นั้น จำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับทัศนคติที่ดีของนักเรียน และนักเรียนเป็นคนเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองมีความชอบ และปราศจากการบังคับของคนรอบข้าง          



          การศึกษาแบบดั่งเดิมนั้นเน้นแบบท่องจำ แล้วไปสอบ คือการสอนแบบตั้งรับ (Traditional Passive) พบว่านักเรียนได้รับความรู้อยู่ประมาณที่  30  เปอร์เซนต์  ซึ่งเหมาะสมกับการเรียนแบบสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงมีการพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่ คือการสอนแบบเชิงรุก (Active)ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนออกมาได้ถึง 90 เปอร์เซนต์


          ในบางครั้งนักเรียนอยากเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบและตั้งใจจะสร้างสิ่งนั้นให้ดี แต่ก็ติดที่ผู้ปกครองหรือคุณครู ที่คอยให้คำปรึกษาในมุมมองของตนเอง โดยขาดการสอบถามความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนที่ต้องการเรียน ถึงเวลาหรือยังที่เราท่านทั้งหลายที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาของ เยาวชนที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของตนเอง มองข้ามขีดกำจัดเดิม มองและยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
          
              จากสภาวะการณ์การศึกษาของประไทยในอาเซียนปรากฏชัดว่า เรานั้นอยู่อันดับที่ 8 ของอาเซียนเกือบรั้งท้าย ทำให้นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ทัศนเกี่ยวกับการศึกษาไว้อย่างกว้างขวางและหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาหลายรูปแบบ

          
  
          การจะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต้องอาศัย กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน น้ันคือรูปแบบการสอนแบบเชิงรุก โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน  (Creativity  Based  Learning)    (ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์)   ที่มุ่งเน้น คิดให้แตกต่าง และให้ดีกว่าเดิม สร้างปัญญาให้กับนักเรียน จากการสอนของคุณครูโดยแบบนี้จะการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้เกิดความอยากรู้อยากเห็น การคิดสร้างสรรค์นี้สามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้ทุกระดับการศึกษา
แม้แต่ในมหาวิทยาลัย นิสิตก็สามารถฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้
แล้วในเด็กในวัยอื่นละ???
ผลของนักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนให้คิดสร้างสรรค์
นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่นักเรียนได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ 
          ถ้าหากผู้ปกครองของนักเรียนได้รับรู้ถึงความต้องการของนักเรียนแล้ว และย่อมเป็นที่แน่ชัดว่าผู้ปกครองควรที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนการเรียนรู้แบบ  การคิดแบบสร้างสรรค์ ชมตัวอย่างกันดูนะครับ
อีกหนึ่งความคิดเห็นของผู้ปกครอง
http://www.youtube.com/watch?v=HBekIIxA4Kg 

           ผลการทดสอบ O-net , PISSA มีความสอดคล้องกัน คือ ผลจาการทดสอบทางด้านการศึกษาของเรานั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เราและท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ต้องเร่งช่วยกันผลักดัน นวัตกรรมทางการศึกษาที่ก่อประโยชน์แก่เยาวชนของชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยของเราอุดมไปด้วยปัญญา คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาชาติสู่ความยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น