วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อิทธิพลของสื่อต่อการสื่อสารทางการศึกษา

        ความเจริญทางทางด้านเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา สื่อ คือ สิ่งที่มีผลต่อ "การพัฒนาความสามารถทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม" เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเป็นบุคคลที่สามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไปพร้อมกับการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

       ควา่มหมายของสื่อ

        นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"

        A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร  (ที่มา http://uto.moph.go.th/hcc/media1.html) 

 ความหมายของการสื่อสาร
            คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล 

            กล่าวโดยสรุปแล้ว สื่อและการสื่อสารนี้ คือ ตัวกลางมีทีผลต่อความรู้สึก นึกคิด พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกผ่านกระบวนการ รับรู้สิ่งที่ต่างๆเข้ามาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอก
       
         นทศวรรษที่ 21 นี้ ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านระบบสื่อต่างๆ มากมาย ยากที่จะควบคุมสิ่งหนึ่งที่ครูทำได้ก็คือ การได้ให้ผู้เรียนบริโภคสื่ออย่างมีภูมิคุ้มกัน หากผู้เรียนบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสมและไม่มีภูมิคุ้มกันแล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อระบบการศึกษา สังคม วัฒนธรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้เรียนบริโภครสื่อ ประเภทสื่อที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม ก็จะทำให้ผู้เรียนมีแนวโน้มการประพฤติปฏิบัติในสิ่งงที่ดีงาม  แต่ถ้าผู้เรียนได้บริโภคสื่อที่มีแต่ความรุนแรงทางด้าน พฤติกรรมอารมณ์แบบก้าวร้าว เช่น เกมส์ที่มีแต่ฆ่ากันตาย หรือเกมส์ที่มีผลต่อพฤติกรรมทางด้านอารมณ์รักใคร่ ผู้เรียนก็มีแนวโน้มจะปฏิบัิติตาม สื่อที่บริโภค

การศีึกษาในทศวรรษที่ 21




 จากคลิปนี้พบว่า การศึกษาในอนาคตผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักในสื่อการเรียนรู้ให้มาก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และมีภูมิคุ้มกัน

        ฉะนั้นเราในฐานะผู้ให้คำแนะนำผู้เรียน ก็ควรมีแนวทางการส่งเสริมใ้ห้ผู้เรียนได้บริโภคสื่อที่ดี และมีภูมิคุ้มกัน เช่น สื่อทางการศึกษา

      
       สื่อที่ดีมีคุณภาพหลายหลาย สามารถหาได้จากโลกของอินเตอร์เน็ท เพื่อส่งเสริมผู้เรียนและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียนไม่ตกเป็นทาสของสื่อที่เราไม่พึงประสงค์ เพื่อการพัฒนาเยาวชนของชาติเราต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น